น้ำจิ้มชั้นดีเพื่อคะแนนที่เพิ่มขึ้น
ถ้าจะลองเปรียบการกินอาหารกับการทำข้อสอบ ลองมาคิดดูสิครับว่า อะไรที่จะพอนำมาเปรียบเทียบกันได้บ้าง?
เวลาเรากินอาหาร เมื่อเรากินเสร็จก็จะรู้สึกอิ่มและสบายใจ ในการทำข้อสอบนั้นก็เช่นกัน เมื่อคำตอบทุกอย่างเสร็จสิ้น เราก็จะรู้สึกอิ่มเอม และสบายใจ เหมือนที่ความพยายามที่ทำมาทั้งหมดได้ปลดปล่อยออกไปแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ผลคะแนนที่ออกมานั้น จะดีหรือไม่ ก็คงจะแล้วแต่ความสามารถที่ได้บรรจุลงไปละครับ เหมือนกับการกินอาหาร ที่จะอร่อยไม่อร่อยก็ขึ้นอยู่กับฝีมือคนปรุงละครับ ว่าเจ๋งขนาดไหน อิ่มเหมือนกัน แต่ผลลัพท์อกมาไม่เท่ากันนั่นเองและถ้าเราอยากให้ผลลัพท์ออกมาดี หรือ ถ้าอยากให้อาหารมีรสชาติอร่อยนั้น แน่นอนว่าก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “น้ำจิ้ม” ที่จะนำมาสร้างสีสันให้กับผลงานของเรา
ถ้าจะยกตัวอย่างในส่วนของ Writing นั้น ถึงแม้ว่าเราจะเขียนได้ถูกต้องตามหลัก Grammar 100% แป๊ะ ขนาดเจ้าของภาษายังต้องทึ่งก็เถอะครับ มันก็ไมได้หมายความว่า งานเขียนของเรานั้นจะได้คะแนน IELTS เต็ม 9 น้ำจิ้มสำหรับการทำ Writing นั้น จากประสบกรณ์และเคล็ดลับส่วนตัวของผม เริ่มจากสิ่งง่ายๆที่เรียกว่า “คำศัพท์” ครับ
แน่นอนว่ารู้ศัพท์ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราสามารถใช้ความหลากหลายของคำศัพท์มรการรังสรรค์งานเขียนของเราให้น่าอ่านมากขึ้นครับ ลองนึกภาพดูเล่นๆว่า ถ้าเราจะต้องการอธิบายถึงคำว่า “จัดกลุ่ม” (ตัวอย่างคำนี้อาจจะได้ใช้จริงๆในเวลาสอบก็ได้นะครับ) ถ้าเราใช้คำว่า divide แค่คำเดียว และในเรื่องที่เราเขียนนั้นต้องเขียนคำว่า divide ซัก 10 นี่ ถึงแม้มันจะถูก แต่มันก็คงน่าเบื่อสำหรับคนตรวจแย่เลยนะครับ
ลองสรรหาคำใหม่ๆมาใช้ เช่น classify, group หรือ categorize ในรูปประโยคที่ต่างๆกันออกไปดูสิครับ แล้วจะพบว่างานเขียนของเรานั้น มันน่าอ่านขึ้นเยอะเลย แน่นอนว่าการใช้คำศัพท์ที่หลากหลายย่อมสร้างงานเขียนให้ดูน่าสนใจ แต่อย่าลืมนะครับว่า อะไรที่มันเกินไปนักก็มักจะไม่ดี ผมหมายถึงบรรดาศัพท์เทพเฉพาะทางทั้งหลายที่เวอร์ๆนั้น ไม่จำเป็นนะครับที่จะต้องสรรหามาลงเพื่อเพียงแค่จะโชว์พาวว์ เพราะนั่นมันอาจจะทำให้แม้แต่คนตรวจอาจจะอ่านไม่รู้เรื่องก็ได้นะครับ
ดังนั้นจึงควรจะพึงระลึกอยู่เสมอครับว่า “ใช้ศัพท์ให้หลากหลายบนพื้นฐานจองความเข้าใจง่าย” ตกลงมั้ยครับ?
คำแนะนำอันต่อไปที่อยากจะให้ลองเอาไปใช้กันดูก็คือ ลักษณะของการเรียงรูปประโยคครับ แน่นอนว่า การเขียนให้ถูก grammar 100% นั้น ไม่ยาก เพราะของแบบนี้ใครๆก็เรียนได้ แต่…การที่จะเขียนให้มีแนวคิดเหมือนฝรั่งนี่สิครับ….ยากกกกกกกกกกส์
เคยมั้ยครับ ที่เขียนถูกต้องทุกอย่าง แต่คนอ่านอ่านไม่รู้เรื่องว่าเราต้องการสื่ออะไร ความผิดพลาดแบบนี้เค้าเรียกว่า ความผิดพลาดของ readiness หรือ ความสามารถในการอ่านให้เข้าใจได้ครับ
สิ่งที่เราจะทำได้ในตรงนี้ก็คือ ต้อง “อ่าน” เยอะๆครับ อ่านข้อเขียนต่างประเทศเยอะๆ เพื่อที่จะดูว่า ฝรั่งเวลาเขียนนั้น เค้าเขียนกันอย่างไร กระบวนการคิดของเค้านั้นเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆตรงนี้ ก็ลองดูเกี่ยวกับการใช้ adverb หรือคำกริยาวิเศษนะครับ เพราะคำกลุ่มนี้ สามารถโยกย้ายไปตามที่ต่างๆของประโยคได้ เช่น
- I went to bed at 22.00 yesterday
- I yesterday went to bed at 22.00
- Yesterday I went to bed at 22.00
เห็นมั้ยครับว่ากริยาวิเศษ yesterday สามารถโยกย้ายไปตามจุดต่างๆของประโยคได้ ซึ่งตรงนี้ เราก็ต้องเข้าไปทำความสังเกตและเรียนรู้ดูละครับว่า แบบไหนที่เหมาะกับประโยคของเราที่สุด
แล้วน้ำจิ้มของคุณละครับ มีอะไรกันบ้าง? มาแชร์กันได้นะครับ